วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทความที่่  1 


คุณธรรมจริยธรรมของครู



วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู



                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 

           วินัยและการรักษาวินัย  
    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้
    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด              
    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ              
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง              
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ        
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง              
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน                 
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง                
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท                
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                    
            คุณธรรม จริยธรรมของครู                                  
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร                
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง             
       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น           
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน             
       6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์          
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น               
       8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที              
       9.ครูต้องไม่ประมาท               
     10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี         
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ               
     12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา      
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น               
     14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์           
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา          
     16.ครูต้องมีการให้อภัย              
     17.ครูต้องประหยัดและอดออม               
    18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่               
    19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ             
    20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

               จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

                  1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ

                  2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
                  3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
                  4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                  5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
                  6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ
                  7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
                  8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
                  9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

บทความที่  2-3
 ประเพณีไทยหมายถึง ชาวไทยหรือคนไทยส่วนมากทำกิจกรรมและได้สืบทอดต่อกันมา มีอิทธิพลและมีความสำคัญกับสังคม ส่วนใหญ่ยอมรับ และเห็นว่าถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ
และทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้นภายหลังและกลายมาเป็นประเพณีไทยที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน ประเพณีล้วนได้มาจากสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต การดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมแบบแผน และสิ่งสุดท้ายที่มีอิทธิพลกับเรื่องราวของประเพณีนั้น ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ศาสนา
ส่วนคำว่า คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป


ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีไทย ที่เป็นประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมา ล้วนแตกต่างไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาวต่างชาติ นับว่าเป็นสิ่งที่เราทั้งหลายควรที่จะอนุรักษ์รักษาไว้ให้อยู่กับคนไทยตลอดไปและเป็นมรดกอันมีค่าที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาเปรียบได้

รายชื่อ ประเพณีไทยที่สำคัญ

1 ประเพณีชักพระหรือลากพระ
2 ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
3 ประเพณีลอยเรือ
4 ประเพณีแห่นางแมว
5 ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
6 ประเพณีลอยโคม
7 ประเพณีบวชลูกแก้วหรือ ปอยส่างลอง
8 ประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่
9 ประเพณีไหลเรือไฟ
10 ประเพณีผีตาโขน
11 ประเพณีบุญบั้งไฟ
12 ประเพณีลอยกระทงสาย
13 ประเพณีวิ่งควาย
14 ประเพณีแห่ปลา
15 ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธตุวัดนางชี
16 ประเพณีตักบาตรดอกไม้
17 ประเพณีแข่งเรือ
18 ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
19 ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
20 ประเพณีเทศน์มหาชาติ
21 ประเพณีการทอดผ้าป่า
22 ประเพณีทอดกฐิน
23 ประเพณีออกพรรษา ตักบาตรเทโว
24 ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา หล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา
25 ประเพณีตรุษสงกรานต์ 26 ประเพณีทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน
27 ประเพณีการทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ
28 ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
29 ประเพณีหมั้นและแต่งงาน
30 ประเพณีบวช
31 ประเพณีและพิธีโกนจุก
บทความที่  4 

การละเล่นของไทย

การละเล่นของไทย คือ การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน การ ละเล่นของไทยพบหลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง “มโนห์รา” ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน การละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่นบางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาด ลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี
คุณค่าของการละเล่นไทย
การละเล่นของไทย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่า ๆ กันกับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นการ “เล่น” ซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจไม่เห็นคุณค่า นอกจากเห็นว่าเป็นแค่เพียงความสนุกสนานของเด็ก ๆ หนำซ้ำการละเล่นบางอย่างยังเห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นการบ่มเพาะนิสัยการพนันอีก เช่น ทอยกอง หว่าหากจะมอง วิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้ว คุณค่าของการละเล่นของไทยเรานี้มีนับเอนกอนันต์ ดังหัวข้อต่อไปนี้
ประโยชน์ทางกาย
• ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา
• ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา
• ฝึกความอดทน
• ฝึกความสามัคคีในคณะ
คุณค่าทางวรรณศิลป์
คุณค่าในการใช้ภาษาสื่อสาร
เป็นที่น่าสังเกตว่าบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบนั้นมีคุณค่าในการสื่อสารอยู่มาก กล่าวคือ ทำให้เด็ก ๆ ได้คุ้นเคยกบคำที่ใช้เรียกชื่อ หรือใช้บอกกริยาอาการต่าง ๆ ช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาโดยไม่รู้ตัว ในบทเจรจาโต้ตอบก็เป็นคำถาม คำตอบสั้นๆ มีเนื้อความเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันบ้าง ดังในบทเล่นแม่งูหรือแม่งูสิงสางของภาคเหนือ บักมี่ดึงหนังของภาคอีสาน หรือฟาดทิงของทางใต้
การใช้ภาษาในการเล่นทายปริศนา
ปริศนา หรือคำทายต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ชอบเล่นทายกันนั้นวิเคราะห์ได้ว่า เป็นวิธีการที่ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสัมพันธ์กับการใช้ภาษาทั้งนี้ เพราะปริศนาก็คือ การตั้งคำถามให้เด็กคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยพบ เคยเห็นมา ใครช่างสังเกตรู้จักคิดเปรียบเทียบความหมายของคำทายกับสิ่งที่ตนเคยพบเห็น ก็สามารถทายถูก ความสนุกจากการทายถูกจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กพยายามใช้ความสังเกตควบคู่ไปกับ การใช้ภาษาเพิ่มขึ้น
ทัศนะต่อการละเล่นของเด็กไทย
พต.หญิง คุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ ผู้ก่อตั้งโครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นท่านผู้หนึ่งที่ทำการวิจัย และรวบรวมการละเล่นของเด็กภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กรุณาให้ทัศนะถึงเรื่องนี้ว่า
“ประโยชน์ของการเล่นไม่ใช้แค่ให้เติบโตแข็งแรง มันยังให้ความรับผิดชอบ การรักษาระเบียบวินัย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรากำลังไขว่คว้าหากันอยู่ การเล่นจะทำให้เกิดความเคารพกติการ รู้แพ้ รู้ชนะ ฝึกจิตใจให้เป็นคนดี และได้หัดภาษาไทยด้วย
การเล่นของเด็กไทยโบราณก็นำมาใช้ได้ดีกับเด็กยุคนี้ เพราะมันเล่นที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องใช้ที่กว้างก็ได้ วัสดุการเล่นก็ใช้ตามท้องถิ่นได้สบาย แต่การเล่นบางอย่างที่มีการพนันด้วยก็ไม่ดี อย่างโยนหลุม ทอยกอง หรือยิงหนังสติ๊ก มันก็อันตราย ต้องระวัง
เด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไปเล่นเพลง เล่นเทปกันหมด นอนฟังในห้อง ไม่ค่อยจะไปไหน แล้วยังทีวี วิดีโอ พ่อแม่ก็ปรนเปรอให้ เลยไม่รู้จักการเล่น ไปเพลิดเพลินกับเสียงแสงสีเสียงหมด การเล่นกลางแจ้งกายไป ความจริงการเล่นกลางแจ้งมีประโยชน์มาก มันได้อากาศบริสุทธิ์ อวัยวะต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวเติบโต ผู้ใหญ่ก็เล่นได้ ดิฉันนี่เล่นจนถึง ม.8 เลย อย่างวิ่งเปี้ยว วิ่งสามขา วิ่งกระสอบ สะบ้า สนุกมาก
และอีกทัศนะหนึ่งจาก
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพลศึกษา กรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการว่า
“ในหลักสูตรชั้นประถมมีการละเล่นคละกันทั้งไทย และที่ดัดแปลงจากต่างประเทศ ของไทยก็มีตั้งแต่ วิ่งวัวเป็นตัน แต่จะไม่เป็นรูปแบบที่เป็นทางการ มีเพื่อให้เด็กสนุกได้ออกกำลัง และเพื่ออนุรักษ์การเล่นของเก่าให้คงอยู่
สาเหตุที่การละเล่นของไทยเสื่อมความนิยมไปก็เนื่องมาจากการมีกีฬาสากลเข้ามาเล่นกันมาก และมีการส่งเสริมแข่งขันจนเป็นที่แพร่หลายกว่า
บ้านเมืองเจริญขึ้น คนต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจโอกาสที่จะเล่นก็น้อยลงไม่มีหน่วยงานใดรับผิดขอบในการอนุรักษ์เรื่องนี้โดยตรง
เด็กไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯเรียนหนักขึ้นแข่งขันกันมากขึ้น มีการเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ จนไม่สนใจการเล่น
คนไทยใช้เวลาพักผ่อนกับการดูทีวี วิดีโอ หรือฟังวิทยุกันมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
และการเล่นแบบไทย ยังไม่ได้จัดเข้าระบบการแข่งขันแบบสากลมันจึงไม่เร้าใจ ไม่สามารถจะอยู่คงทนต่อไปได้ หากมีการอนุรักษ์เป็นประเพณีท้องถิ่นก็จะอยู่ได้ถาวร
การละเล่นของไทยเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นไทย ถ้าไม่มีการเล่นกันต่อไปมันก็จะสูญ ถ้าไม่มีการกระตุ้น สนับสนุน ต่อไปก็จะไม่เหลือ เราต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรมันจึงจะแพร่หลาย”
นับวันการละเล่นของไทยจะหายไป
นี่คือความเป็นจริงที่น่าเสียดายเช่นเดียวกับประเพณีของไทยอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งจะอยู่ยงคงได้ก็ต่อเมื่อคนไทยเท่านั้นที่รับสืบทอดมาปฏิบัติ โดยมิอาจจะอนุรักษ์เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ดังเช่น วัตถุโบราณได้ เมื่อยุคสมัยผันแปรไป ค่านิยม ความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปจากวิถีการดำรงชีวิตในอดีตอย่างมากมาย น่าเสียดายที่ว่าในปัจจุบันของเล่นต่าง ๆ มากมายทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ได้เข้ามาแทนที่การละเล่นต่าง ๆของสมัยก่อนซึ่งแทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย หรือถ้ามีก็จะเป็นอุปกรณ์การเล่นที่นำมาจากธรรมชาติ หรือของใช้ในครัวเรือน หรือไม่ก็คิดประดิษฐ์กันเอาเองไม่ต้องซื้อหา
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ โทรทัศน์ และวิดีโอ ซึ่งเด็กสมัยนี้ติดกันมาก แทบจะแกะตัวออกมาจากหน้าจอไม่ได้ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมเด็กสมัยนี้ถึงมีร่างกายกระปรกกระเปรี้ย สายตาสั้นพัฒนาการทางภาษาไม่กว้างไกล นี่ยังไม่นับเด็กอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่นหรืออย่างเข้าวัยรุ่นที่กำลังหลงแสงหลงเสียงเพลงในตลับ ซึ่งภาษาในเนื้อเพลงแทบจะหาคุณค่าทางวรรณศิลป์ไม่เจอเอาเสียเลย
เป็นเรื่องน่าคิดว่า สิ่งที่เข้ามาแทนที่ของเก่านั้น ผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กไทยทั้งหลายได้เลือกสรรสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์แก่เด็กอย่างแท้หรือไม่
การละเล่นภาคเหนือ
โพงพาง
เล่นโพงพาง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ผ้าปิดตา
วิธีการเล่น
ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ
ยก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-หนังยาง
วิธีการเล่น
๑.แบ่งผู้เล่นออกเป็นทีม ทีมละ ๓ คนขึ้นไป
๒.นำหนังยางมาร้อยให้เป็นเส้นยาวพอสมควร
๓.ทำการเป่ายิงชุบ เพื่อหาว่าทีมไหนแพ้จะเป็นคนจับหนังยางยกเป็นทีมแรก
๔.ขั้นแรก ให้นำเข่าติดกับพื้นมือทั้งสองจับหนังยางพร้อมทั้งยกก้นและ ชูมือให้สุด เพื่อให้ทีมตรงข้ามโดดไม่ผ่าน (ในการเล่นแต่ละขั้นถ้ากระโดดผ่านจะได้เล่นต่อไป)
๕.ขั้นสอง ให้ยกเข่าข้างที่ถนัดแล้วพร้อมทั้งยกก้น และชูมือให้สุดเพื่อให้ทีมตรงข้ามโดดไม่ให้ผ่าน
๖.ขั้นสาม นำหนังยางมาพันเข่าหนึ่งรอบเพื่อให้ทีมตรงข้ามโดด โดยกำหนดว่าต้องโดดไม่โดนหนังยาง แล้วแต่กำหนดว่าจะให้โดดกี่ครั้ง
๗.ขั้นสี่ (ใต้ก้น) คือ นำหนังยางพันใต้ก้นให้ทีมตรงข้ามกระโดดผ่านโดยไม่จัง กำหนดว่าต้องโดดไม่โดนเส้นหนึ่งครั้ง
๘.ขั้นห้า (อีเอว) คือ นำหนังยางไว้ตรงเอวในการเล่นขั้นอีเอวจะมีการกระโดดท่าเพิ่ม คือ อีหญิง อีชาย โดยผู้เล่นจะเลือกท่าไหนก็ได้ จะกำหนดให้เล่นอีหญิง ๒๐ ครั้ง การเล่นอีหญิงคือ การกระโดดโดยการเอาขาข้างที่ถนัดเกี่ยวหนังยางไว้ใต้เข่าและเอาขาอีกข้างโดด ข้ามหนังยางไป แล้วทำซ้ำจนครบ ๒๐ ครั้ง ส่วนอีชายคือ การกระโดดเอาขาข้างที่ถนัดเกี่ยวไปข้างหน้าให้ขากระแดะเป็นเลขสี่และเอาขา อีกข้างกระโดดข้ามตามไปจนครบ ๑๐ ครั้ง
๙.ขั้นหก (อีพุง) ทำเหมือนขั้นห้า (อีเอว) แต่กำหนดการเล่นอีหญิง ๑๐ ครั้ง อีชาย ๕ ครั้ง
๑๐.ขั้นเจ็ด (อียก) ทำเหมือนขั้นห้าและหก แต่กำหนดการเล่นอีชาย ๓ ครั้ง และอีหญิง ๕ ครั้ง
๑๑.ขั้นแปด (อีลักแล้) ทำเหมือนขั้นห้า หก และเจ็ด แต่กำหนดการเล่นอีหญิง ๒ ครั้ง อีชาย ๑ ครั้ง
๑๒.ขั้นเก้า (อีคอ) เล่นโดยกระโดดท่าอีหญิงครั้งเดียว
๑๓.ขั้นสิบ (อีหู) เหมือนขั้นเก้า
๑๔ .ขั้นสิบเอ็ด (อีหัว) กระโดดท่าหญิง ๑ ครั้ง มีตัวช่วยโดยใช้นิ้วก้อยเกี่ยวหนังยางลงมาพอสมควรแล้วกระโดดท่าอีหญิงข้าม
๑๕.ขั้นสิบสอง (อีธู) เป็นขั้นสุดท้ายในการเล่น มีการเล่น ๒ แบบ คือ ท่าตีลังกาเอาเท้าเกี่ยวหนังยางแล้วข้ามหนังยางไป และอีกท่าคือ ท่าคาราเต้ ใช้สันมือข้างที่ถนัดกดหนังยางลงมาพอสมควรแล้วข้ามด้วยท่าอีหญิง
การเล่นแต่ละขั้น เมื่อจบแล้วให้เปลี่ยนผู้เล่นคนอื่นมาเล่นต่อ ถ้าในการเล่นแต่ละขั้นถ้าผู้เล่นในทีมที่เล่นผ่านจะมีสิทธิ์ใช้แทนเพื่อนที่ เล่นไม่ผ่านได้ แต่ถ้าหมดผู้เล่นในทีมแล้ว คือ เล่นไม่ผ่านหมดจะต้องไปจับแทนผู้เล่นอีกฝ่ายตรงข้าม
เตยหรือหลิ่น
เตย
เตยหรือหลิ่น
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
วิธีการเล่น
ขีดเส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
เบี้ยขี่โก่ง
เบี้ยขี่ดกง
เบี้ยขี่โก่ง อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-เบี้ย (ก้อนหินที่มีลักษณะแบน)
วิธีการเล่น
๑.ขุดหลุมให้พอเหมาะกับเบี้ย ๑ หลุม และขีดเส้นใต้ห่างจากหลุมให้พอเหมาะ
๒.ถ้าผู้เล่นมีไม่ครบคู่ให้เล่นคี่ก็ได้
๓.จุดโยนเบี้ยต้องห่างจากหลุมไม่ต่ำกว่า ๕ เมตร
๔.ผู้เล่นต้องโยนหินให้ใกล้หลุมมากที่สุดหรือลงหลุมเลยก็ได้
๕.ผู้ที่โยนเบี้ยไกลที่สุดจะถูกคนที่ใกล้หลุมมากที่สุดเก็บเบี้ยขึ้นมาแล้ว โยนจากหลุมให้ข้ามเขต ๕ เมตร แล้วโยนเบี้ยให้ถูกคนที่อยู่ไกลหลุม
๖.ถ้าถูกคนนั้นก็จะขี่หลังของคนที่ตีเบี้ยโดนนั้น แล้วโยนหินบนหลังนั้นให้เข้าหลุมก็ได้ หรือไม่เข้าก็ต้องตีโดนเบี้ยนั้นให้ได้
๗.ถ้าโยนไม่ถูก คนที่ได้ขี่หลังก็จะถูกคนที่ขี่หลังเก็บเบี้ยของตนแล้วมาตีให้ถูกเบี้ยของคน นั้นให้ได้ ถ้ายังไม่ถูกคนที่เหลือก็จะต้องตีให้ถูกหินของใครก็ได้แล้วคนที่ขี่หลังโยน หินต่อ แต่ถ้าไม่โดนสักคนก็เริ่มต้นใหม่
ซิกโก๋งเก๋ง ซิกโกงกาง
ซิกโก๋งเก๋ง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร
-ปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน
วิธีการประดิษฐ์
๑.เอาไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร
๒.ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ
๓.หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น
วิธีการเล่น
ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง
หมากล้อกลิ้ง
หมากล้อกลิ้ง
หมากล้อกลิ้ง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-หมากล้อกลิ้ง
วิธีการประดิษฐ์
๑.นำไม้แผ่นมาถากหรือฉลุเป็นวงกลมขนาด ๑๐ – ๑๒ เซนติเมตร เพื่อทำเป็นล้อไม้
๒.เจาะรูตรงกลาง
๓.นำไม้ไผ่ขนาดพอมือจับ ยาวประมาณ ๑ – ๑.๒๐ เมตร มาผ่าส่วนปลายไม้ให้เป็นง่ามคล้ายหนังสะติ๊ก แล้วเจาะรูทำเป็นด้ามจับ
๔.นำล้อไม้มาประกอบติดกับด้ามจับสอดตะปูหรือเหลาไม้ทำแกนล้อ
วิธีการเล่น
นิยมเล่นคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม โดยนำหมากล้อกลิ้งมาวิ่งเล่นกันไปตามท้องถนนหรือลานบ้าน ลานวัดอาจมีการแข่งขันว่าใครจะวิ่งเร็วกว่ากัน
หมากข่าง
หมากข่าง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ที่กลึงเกลาให้กลมแล้ว ขนาดกำมือ จำนวน ๒๐-๓๐ ลูก
-สะบ้า ๑๐ ลูก
-ลานดินกว้างขนาด ๕x๑๐ เมตร
วิธีการเล่น
การเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ข้าง แต่ละข้างไม่จำกัดว่าจะเป็นหญิงหรือชาย หรือทั้งหญิงและชายปนกัน ขอให้มีข้างละเท่ากันเท่านั้น แต่ละข้างจะมีอุปกรณ์ในการเล่น คือ หมากข่าง หรือลูกทอยข้างละ ๕-๑๐ ลูกเท่านั้น และมีลูกสะบ้า ๕ ลูก ตั้งเป็นรูปกากบาทให้ห่าง จากอีกข้างแล้วแต่จะตกลงกัน
เมื่อเริ่มเล่น จะมีการเสี่ยงว่าข้างไหนจะได้เป็นข้างที่จะโยนก่อน จากนั้นข้างที่ได้โยนก่อนจะไปยืนหลังเส้นที่ตั้งลูกสะบ้า แล้วโยนลูกให้กลิ้งไปโดยสะบ้าที่ตั้งเป็นรูปกากบาทของข้างตรงข้าม ถ้าฝ่ายใดสามารถโยนไปโดนลูกสะบ้าได้มากที่สุด ก็จะเป็นฝ่ายชนะการแข่งขัน
การละเล่นภาคอีสาน
วิ่งขาโถกเถก
วิ่งขาโถกเถก
วิ่งขาโถกเถก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ไผ่กิ่ง ๒ ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้
วิธีการเล่น
ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยก ข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ
แข่งเรือบก
แข่งเรือบก
อุปกรณ์
-ไม้กระดาน ๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ
-เชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้
วิธีการเล่น
ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
ก๊อกล๊อต
อุปกรณ์
-แผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบ ๑ แผ่น
-ไม้ขนาดหน้าสาม ๑ ท่อน
-เหรียญบาทหรือเหรียญห้าบาท หรือเหรียญสิบบาท
วิธีการเล่น
เริ่มโดยเตรียมสถานที่เป็นที่โล่งแล้วนำ ไม้กระดานแผ่นเรียบไปพิงไว้ที่ใดที่หนึ่งให้ทำมุมเฉียง ๔๕ องศา ต่อจากนั้นนำไม้หน้าสามไปวางเป็นแนวนอนให้อยู่ตรงข้ามกับไม้กระดานแผ่นเรียบ โดยให้ห่างจากกันประมาณ ๑ เมตร เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยผู้เล่นจะมีจำนวนกี่คนก็ได้เข้าแถวเพื่อ รอคิวกลิ้งเหรียญจากแผ่นไม้กระดานแผ่นเรียบไปกระทบแผ่นไม้หน้าสาม การตัดสิน หากเหรียญของผู้เล่นคนใดกระเด็นออกไปไกลที่สุดก็จะถือว่าเป็นผู้ชนะ รางวัล คือ เหรียญทั้งหมดที่มีผู้ลงเล่นในแต่ละครั้ง แต่การละเล่นก๊อกล๊อคมีเงื่อนไขข้อหนึ่งว่า การใช้เหรียญเพื่อแข่งขันผู้เล่นต้องใช้เหรียญประเภทเดียวกัน
เดินกุ๊บกั๊บ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-กะลามะพร้าวผ่าครึ่ง
-เชือกที่เหนียวพอประมาณ ๑ เส้น มีความยาวพอประมาณที่จะใช้มือดึงในขณะที่ยืนอยู่ได้
-ตะปูหรือไม้ที่แข็งแรง
วิธีการประดิษฐ์
๑.เอากะลามะพร้าวมาผ่าครึ่งคู่หนึ่งวางคว่ำลงกับพื้น เจาะรูที่ก้นกะลาทั้ง ๒ ข้าง
๒.หาเชือกที่เหนียวพอประมาณมา ๑ เส้น มีความยาวพอประมาณที่จะใช้มือดึงในขณะที่ยืนอยู่ได้ ปลายเชือกแต่ละข้างร้อยรูกะลาที่เจาะไว้
๓.ใช้ตะปูหรือไม้ที่แข็งแรงผูกปลายเชือกที่ร้อยกะลาไม่ให้เชือกหลุดจากรูกะลา
เวลา เล่นใช้เท้าเหยียบลงบนกะลาทั้ง ๒ ข้างให้เชือกตึงอยู่ระหว่างง่ามหัวแม่เท้า เวลาเดินดึงเชือกให้ตึงกะลาติดเท้าไปด้วย กะลากระทบพื้นจะมีเสียงดัง กุ๊บกั๊บ หรือ ก๊อบแก๊บ
วิธีการเล่น
เวลาเล่นใช้เท้าเหยียบลงบนกะลาทั้ง ๒ ข้างให้เชือกตึงอยู่ระหว่างง่ามหัวแม่เท้า เวลาเดินดึงเชือกให้ตึงกะลาติดเท้าไปด้วย กะลากระทบพื้นจะมีเสียงดัง กุ๊บกั๊บ หรือ ก๊อบแก๊บ
งูกินหาง
งูกินหาง
งูกินหาง
วิธีการเล่น
เริ่มเล่น เมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็ จะพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
ตีนเลียน (ล้อเลื่อน)
ตีนเลียน (ล้อเลื่อน)
ตีนเลียน (ล้อเลื่อน)
อุปกรณ์การเล่น
-ไม้กระดานรูปวงกลมรัศมี ๘-๑๒ นิ้ว
-ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒ เมตร ผ่าครึ่งยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว
-ตะปู หรือไม้ที่แข็ง
วิธีการประดิษฐ์
เอาไม้กระดานรูปวงกลมรัศมี ๘-๑๒ นิ้ว เจาะรู ตรงกลางใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒ เมตร ผ่าครึ่งยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว เพื่อเชื่อมกับรูของกระดานโดยใช้ตะปู หรือไม้ที่แข็งเป็นเพลาแล้วสกัดไว้ให้แน่นไม่หลุดออกมา
วิธีการเล่น
๑.การเริ่มต้นผู้เล่นจะยืนเรียงกันโดยใช้ไม้ไผ่ด้านปลายวางไว้ที่บ่าแล้วจับให้แน่น
๒.สัญญาณบอกเริ่มวิ่ง ผู้เล่นก็จะดันตีนเลียนให้วิ่งออกไป เพื่อให้ถึงเส้นชัยซึ่งอาจจะเป็นระยะทาง ๕๐ เมตร หรือ ๑๐๐ เมตร
๓.การสิ้นสุดการเล่นใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
การละเล่นภาคกลาง
ชักเย่อ
ชักเย่อ
ชักเย่อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
หลุมเมือง
หลุมเมือง
หลุมเมือง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนั่งอยู่คนละข้างหลุม (จำนวนหลุมมีไม่จำกัด) ตกลงกันว่าจะกองทุนคนละเท่าใด เอาเบี้ยหรือสิ่งอื่นใช้แทนเบี้ยมารวมกัน แล้วหยอดใส่หลุมไว้หลุมละเท่าๆ กันแต่ หลุมหน้าผู้เล่นทั้งสองต้องมากกว่าหลุมอื่น ซึ่งเรียกว่า หลุมเมือง เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายใดเริ่มก่อนจะหยอดเบี้ยใส่หลุมไปเรื่อยๆ ตามลำดับจนหมดเบี้ย เมื่อหมดเบี้ยในมือก็หยิบเอาเบี้ยในหลุมถัดไปหยอดต่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบหลุมว่าง ผู้เล่นคนแรกจึงมีสิทธิกินเบี้ยทั้งหมดในหลุมถัดไป (ถัดจากหลุมว่าง) ผู้เล่นคนที่สองก็จะดำเนินการเล่นเหมือนคนแรก เมื่อพบหลุมว่างและกินเบี้ยหลุมถัดไป จึงผลัดกันเล่นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดทุนเลิกไป ผู้อื่นก็จะมาเล่นแทน
การแข่งขันวัวลาน
การแข่งขันวัวลาน
การแข่งขันวัวลาน
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
ชาว บ้านจะนำวัวมาวิ่งแข่งกันเป็นวงกลมในลานที่กำหนด โดยมีเสาเกียดซึ่งปักอยู่กลางถนนเป็นศูนย์กลาง ผูกเชือกพรวนของวัวแต่ละตัวเรียงกันตามลำดับ จากในเสาเกียดออกมาถึงริมลาน รวมจำนวน ๑๙ ตัว ซึ่งเจ้าของพวงวัวแต่ละพวงก็จะตระเตรียมวัวของตนมาทั้งวัวนอกและวัวในหรือ วัวรอง วัวรองหรือวัวใน จะมีทั้งหมด ๑๘ ตัว เป็นส่วนใหญ่ เจ้าของพวงวัวจะผูกวัวตามเชือกพรวนจากเสาเกียดกลางลานออกมา ตัวที่ฝีเท้าจัด แข็งแรง จะอยู่ด้านริมเชือกพรวน เป็นตัวที่ ๑๖, ๑๗, ๑๘ เพื่อเอาไว้วิ่งแข่งกับวัวนอกของพวงอื่นที่จะนำมาทาบประกบเป็นตัวที่ ๑๙
วัวนอก คือ วัวตัวที่เจ้าของพวงวัวถือว่าเก่งที่สุด มีกำลังมากและฝีเท้าจัด จะนำมาทาบกับวัวในของพวงวัวอื่น ผูกทับเป็นตัวที่ ๑๙ อยู่นอกสุดของลานเพื่อจะได้วิ่งแข่งกันเอาชนะวัวรองให้ได้ในการแข่งขันแต่ละ เปิด ซึ่งแน่นอนว่าวัวตัวนอกสุดที่เรียกว่าวัวนอกนี้จะเป็นวัวที่ต้องวิ่งทำระยะ ทางไกลที่สุดและมีฝีเท้าจัดที่สุด ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้แล้วสามารถลากวัวรองตามไปอย่างไม่เป็นขบวนจนดิ้น หลุดขาดไป นั่นหมายถึงวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองวิ่งแซงนำวัวนอกได้วัวรองก็ชนะไป แต่ถ้าไม่สามารถเอาชนะกันได้ก็ถือว่าเสมอ
การละเล่นภาคใต้
ฉับโผงฉับโผง
ฉับโผง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ไผ่
-ลูกพลา
วิธีการประดิษฐ์
๑.นำไม้ไผ่ขนาดเล็ก มาตัดให้เหลือ ๑ ปล้องมีรูกลวงตรงกลางตลอดลำ (ยาวประมาณ ๑ คืบ) เรียกส่วนนี้ว่า “บอกฉับโผง”
๒.นำไม้ไผ่ความยาวประมาณ ๑.๕ คืบมาเกลาให้กลม ขนาดพอที่จะกระทุ้งเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ได้
๓.ทั้งใช้ไม้ไผ่ขนาดเท่ากระบอกฉับโผงความยาวประมาณ ๐.๕ คืบ สวมโคนไม้ไผ่ส่วนที่ยาวเกินกระบอก ชิ้นส่วนนี้เรียกว่า “ด้ามจับ”
วิธีการเล่น
นำลูกพลา (ผลไม้ป่ามีลักษณะผลเป็นช่อคล้ายมะเขือพวงแต่ลูกเล็กกว่า)อัดเข้าไปในกระบอก ฉับโผง แล้วมือข้างหนึ่งถือกระบอกมือข้างหนึ่งถือด้ามจับสอดปลายด้ามจับกระทุ้งไป ด้านหน้าแรงๆให้แรงอัดดันลูกพลาพุ่งออกไปนอกกระบอก
เป่ากบ
เป่ากบ
เป่ากบ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด
-ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้
-สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
จำนวนผู้เล่น มี ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้
วิธีการเล่น
เอายางเส้น (ยางวง)จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น ให้อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผุ้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้น ของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
กำทาย
กำทาย
กำทาย
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์(ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด)
-ยางเส้น
-เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
-เมล็ดสวาด
-เมล็ดสวด
-ลูกนู (ก้อนดินกลม)
วิธีการเล่น
๑.เมื่อสัญญาณการเล่นเริ่มขึ้นทุกคนจะกอบหรือกำของที่อยู่ตรงหน้านั้น โดยไม่ให้คนอื่นเห็นว่ามีจำนวนเท่าใด
๒.ให้ทายที่คนว่าของในมือของทุกคนเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเท่าใด
๓.เมื่อทายเสร็จทุกคนแบมือออกและนับของในมือของทุกคน ใครทายถูกได้เป็นกรรมสิทธิ์ในของนั้น ถ้าทายถูกหลายคนใช้วิธีหารแบ่งกัน ถ้ามีเศษให้รวมไว้เป็นกองกลาง เพื่อเป็นเล่นหนต่อไป
มอญซ่อนผ้า
มอญซ่อนผ้า
มอญซ่อนผ้า
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
๑.ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ ๑ ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก คุยกันหรือร้องเพลงก็ได้ เพื่อความรื่นเริง
๒.ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้ นั้นต้องรู้ตัว
๓.ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้น รับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่
ข้อระวังในการเล่น
ผู้นั่งทุกคนจะหันหน้าไปดูข้างหลังไม่ได้ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีผ้าอยู่ข้างหลังตนหรือไม่ก็ให้ใช้มือคลำดูเท่านั้น ผู้ถือต้องวางผ้าลงข้างหลังให้ใกล้ตัวผู้นั่ง จะวางเกินกว่า ๑ ศอกไม่ได้และให้วิ่งหรือเดินต่อไปข้างหน้าจนบรรจบรอบ จะหันหลังเดินย้อนมาไม่ได้
ซัดต้ม
ซัดต้ม
ซัดต้ม
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการประดิษฐ์
๑.ทำลูกต้มสำหรับปาด้วยข้าวตากผสมทรายห่อด้วยใบตาลโตนด หรือใบมะพร้าวมาสานแบบตะกร้ออย่างแน่นหนา ขนาดเท่ากับกำปั้นพอเหมาะมือ อาจจะใช้หวายสอดภายนอกอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้แน่นและคงทนยิ่งขึ้น
๒.นำลูกต้มไปแช่น้ำเพื่อให้ข้าวตากพองตัวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก
วิธีการเล่น
เอาคนที่มีลักษณะรูปร่างความแข็งแรงและความชำนาญที่พอจะสู้กันได้ หรืออาจจะให้คนที่มีฝีมือมาสู้กัน คู่ต่อสู้จะยืนบนเวทีหันหน้าเข้าหากัน ห่างกันประมาณ ๖-๘ เมตร โดยมีกรรมการเป็นผู้กำหนด การปาหรือซัดต้มจะผลัดกัน เช่น ปาคนละ ๓ ครั้ง โดยมีลูกต้มวางอยู่ข้างหน้าฝ่ายละประมาณ ๒๕-๓๐ ลูก การแต่งกายจะนุ่งกางเกงหรือนุ่งผ้าโจงกระเบนก็ได้ บางคนอาจจะมีมงคลสวมหัว มีผ้าประเจียดพันแขนเช่นเดียวกับนักมวย ก่อนลงมือแข่งขันก็มีการร่ายคาถาอาคม ลงเลขยันต์ที่ลูกต้มเพื่อให้แคล้วคลาดจากลูกต้มฝ่ายตรงข้าม
ผู้ที่จะเป็นนักซัดต้มได้นั้นต้องเป็นคนใจกล้า สายตาดี เมื่อคู่ต่อสู้ปามาด้วยความเร็วและแรงนั้น ต้องมีความสามารถในการหลบหลีกหรือรับลูกต้มไว้โดยไม่ให้ถูกตัว หรือใช้เท้าถีบลูกต้มให้กระเด็นออก ถ้ารับด้วยมือต้องกำลูกต้มบางส่วนอยู่ในมือ หากรับด้วยมือเปล่าอาจทำให้มือเคล็ดได้ จะเห็นว่าการซัดต้มหรือปาต้มนั้นเต็มไปด้วยความสนุกสนานตื่นเต้น โดยเฉพาะเสียงเชียร์จากผู้ดู การซัดต้มจึงต้องอาศัยศิลปะ ไหวพริบ และความว่องไวเป็นอันมาก ผู้ใดปาหรือซัดถูกคู่ต่อสู้มากก็จะเป็นฝ่ายชนะ
หมาชิงมุม
หมาชิงมุม
หมาชิงมุม
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-หลักจำนวน ๔ ต้น
จำนวนผู้เล่น ๕ คนขึ้นไป
วิธีการเล่น
หมาชิงมุม หรือ หมาชิงเสา เป็นการเล่นของเด็ก มีวิธีเล่นคล้ายลิงชิงหลัก คือมีผู้เล่น ๕ คน และมีหลักปักไว้ ๔ ต้น หรืออาจเขียนเครื่องหมายบนพื้น ๔ ทิศ ให้อยู่ห่างกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่เพื่อความสะดวกอาจใช้เสาศาลาพักร้อนหรือเสาของอาคารที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง ก็ได้ ก่อนเริ่มเล่นจะต้องมีการเสี่ยงทายหาผู้เล่นเป็น “หมา”
เริ่มเล่นโดยการให้คนที่เป็น “หมา” ยืนอยู่ตรงกลางของพื้นที่ ๔ เหลี่ยม แล้วคนอื่น ๆ ก็เปลี่ยนที่กันยืน โดยการวิ่งจากมุมเดิมไปอยู่มุมอื่น (มุมไหนก็ได้) เป็นการแลกเปลี่ยนมุมกัน ผู้ที่เล่นเป็นหมาจะต้องแย่งมุมใดมุมหนึ่งซึ่งยังไม่มีใครครอบครอง หากผู้ที่เล่นเป็นหมาแย่งได้ ผู้ที่ไม่มีหลักครอบครองก็จะต้องเล่นเป็นหมาแทน แต่เมื่อผู้เล่นสามารถเปลี่ยนมุมได้คนละ ๕ หรือ ๗ ครั้ง แล้วแต่จะตกลงกัน ถ้าหมาไม่สามารถชิงมุมได้ ผู้เล่นทั้ง ๔ คน ก็จะช่วยกันหามหมาไปทิ้ง (ส่ง) ณ ที่ใดที่หนึ่งซึ่งห่างจากสถานที่เล่นพอสมควร ซึ่งในขณะที่หามอยู่นั้น ทุกคนจะต้องช่วยกันร้องเสียงหมาที่มีอาการเจ็บปวดได้ด้วย เมื่อได้ที่แล้วทุกคน (ทั้ง ๕ คน) ก็จะต้องวิ่งกลับไปชิงมุมที่ทำเอาไว้ หากใครชิงไม่ได้ก็ต้องเล่นเป็นหมาต่อไป เล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเลิก
ไก่ขึ้นร้าน
ไก่ขึ้นร้าน
ไก่ขึ้นร้าน
อุปกรณ์ และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ไผ่เหลากลมขนาดโต และยาวเท่าดินสอหรือจะใช้ไม้อื่นที่มีลักษณะเดียวกันก็ได้ไม้นี้เรียกว่า “ไม้ชั่ง” ไม้ชั่งนี้มีจำนวน เช่น ๑๐,๑๕ หรือ ๒๐ อัน เป็นต้น
จำนวนผู้เล่น ๒ -๕ หรือมากกว่าก็ได้
วิธีการเล่น
ให้ตกลงกันว่าใครจะเล่นก่อนเล่นหลัง ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ใช้วิธีการชั่งไม้แข่งกันว่าใครจะได้มากกว่า วิธีช่างจะเอาไม้ชั่งตามที่กำหนดวางในมือข้างที่ถนัด โยนขึ้นแล้วเอาหลังมือรับแล้วโยนขึ้นอีก ใช้ด้านฝ่ามือรับ ทุกคนผลัดกันเล่นเช่นนี้คนละครั้งใครรับไม้ได้มากกว่าก็ได้เล่นก่อน คนได้จำนวนรองลงมาก็เล่นถัด ๆ มาตามลำดับในการเล่นมีต่างกันเขตพื้นที่ในจังหวัดพังงา ผู้เล่นจะตกลงกันว่าจะใช้ไม้กี่อัน หลังจากชั่งไม้แข่งกันหาผู้เล่นก่อนหลังได้แล้ว ผู้เล่นก่อนจะโยนไม้ชั่งทั้งหมดขึ้นแล้วรับด้วยหลังมือ
โดยไม้ชั่งขึ้นจากหลังมือแล้วรับไม่ให้ได้เพียง ๑ อัน ถ้ารับได้ ๑ อัน ไม้ที่รับได้นั้นแยกไว้ต่างหากเป็นคะแนน แล้วเล่นต่อไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะตาย การตายเกิดจากรับไม้ไม่ได้เลย หรือได้เกิน ๑ อัน จะต้องเปลี่ยนให้คูแข่งขันคนต่อไปเล่นต่อ เล่นเช่นนี้จนหมดไม้ในมือ แล้วนับดูว่าไม้ชั่งที่แต่ละคนรับได้มีจำนวนคนละเท่าใด คนที่ได้ไม้ชั่งมากที่สุดเป็นคนชนะ
บทความที่  5
วันสำคัญทางศาสนา

วันวิสาขบูชา


 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๖
คลิกฟังประสูติ
คลิกฟังตรัสรู้
คลิกฟังปรินิพพาน
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ

     ๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
     ๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
     ๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
     นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก



ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย    วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
   สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
   ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ต ลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
   ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
   ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
   ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
   การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

ห ลั ก ธ ร ร ม สำ คั ญ ที่ ค ว ร นำ ม า ป ฏิ บั ติ ๑. ค ว า ม ก ตั ญ ญู คือความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น
• บิดามารดา มีอุปการคุณแก่ลูก ในฐานะผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบโต ให้การศึกษาอบรมสั่งสอน ให้เว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก
• ลูกเมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้ แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของ ท่าน และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน
• ครูอาจารย์มีอุปการคุณแก่ศิษย์ ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่น และช่วยคุ้มครองให้ศิษย์ทั้งหลาย
• ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู
• ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้เพราะ บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และลูกก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน
• นอกจากบิดากับลูก และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง อันจะส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
• ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้า ทรงเป็นบุพการรีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์
• พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชาและปฎิบัติบูชากล่าวคือการจัดกิจกรรม ในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ต่อพระองค์ด้วยการทำนุ บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฎิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
๒. อ ริ ย สั จ ๔
อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคน มี ๔ ประการ คือ
• ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกันสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน
• สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหา ของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น
• นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิต ทั้งหมดที่สามารถแก้ไข ได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ ๘ ประการ ( ดูมัชฌิมาปฎิปทา )
• มรรค การปฏิบัติเพื่อจำกัดทุกข์ เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการ
๓. ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท
ความไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้ ในภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยาบท กล่าวคือ ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาท
การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร และกำลังทำอย่างไร หากมีสติระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาด

กิ จ ก ร ร ม ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ทางราชการประกาศชักชวนให้ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งเอกชน และราชการประดับตกแต่งอาคารสถานที่ด้วยธงชาติ ธงเสมาธรรมจักร จุดประทีบโคมไฟ แต่โดยทางปฎิบัติแล้ว ใช้หลอดไฟประดับหลากสี ในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๖
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จประกอบพระราชกุศล ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงบาตร ในตอนเช้า ในตอนเย็น ทรงนำเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ และสดับพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ พร้อมทั้งถวายไทยธรรม
• จัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่บริเวณท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี แต่ละปีมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาหลากหลายหน่วยงาน ทั้งทางราชการ และเอกชนทั้งฝ่ายบรรพชิต และคฤหัสถ์ ร่วมกันจัดงานอันยิ่งใหญ่สร้างความศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล มีการทำบุญตักบาตร ให้ทานรักษาศีลฟังธรรม สนทนาธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนาเป็นที่ประทับใจยิ่งนัก

- ทำบุญตักบาตร บริเวณพุทธมณฑล -
- เวียนเทียน บริเวณพุทธมณฑล -
• สถานที่จัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งก็คือ ณ บริเวณพุทธมณฑล ซึ่งมีหน่วยงานกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธการร่วมกับประชาชนทั่วไป ได้จัดกิจกรรมปฎิบัติธรรมทั้งฝ่าย พระสงฆ์ และฆราวาส มีจำนวนหลายหมื่นได้ร่วมทำบุญตักบาตรให้ทานรักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม และเจริญภาวนาแผ่เมตตาถวายเป๋นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา และในวันวิสาขบูชา ณ บริเวณพุทธมณฑลนี้เอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานทรงเวียนเทียนทุกปีด้วย
• พระสงฆ์ผู้จัดรายการธรรม ทางสถานีวิทยุ เกือบทุกรายการทั่วประเทศเมื่อถึงสำคัญ คือวันวิสาขบูชาเช่นนี้ ก็มี
การประชาสัมพันธ์เชิญชวนพุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล เป็นกรณีพิเศษ คือ บรรพชาอุปสมบทนาคหมู่ และบวช เนกขัมมะ เพื่อปฎิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชะ ธรรมบูชา เป็นการช่วยสนับสนุน ส่งเสริม สร้างความสงบสุขให้แก่บุคคลและสร้างความสามัคคีธรรมให้แก่สังคม ตลอดถึงประเทศชาติอีกด้วย
สรุปแล้ววันวิสาขบูชาปีนี้ คงจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทางราชการ และเอกชนตลอดทั้ง ผู้จัดรายการธรรมะ ทางสถานีวิทยุทั่วประเทศ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เชิญชวนสาธุชนผู้ศรัทธา จัดกิจกรรมปฎิบัติธรรม บำเพ็ญมหากุศลอันยิ่งใหญ่เป็นกรณีพิเศษ เหมือนที่เคยปฎิบัติมาทุกๆ ปี

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติคือ
 "วันสำคัญของโลก" ( Vesak Day )
ภูมิหลัง
๑. ในการประชุม International Buddhist Conference ณ กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฐาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และไทย ได้ตกลงกันที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติประกาศวัน วิสาขบูชาให้เป็นวันหยุดของสหประชาชาติ

๒. ในการเยือนของประเทศต่างๆ ในอินโดจีนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา ในปี ๒๕๔๒ ก็ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือ และได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ได้ด้วยดี

๓. คณะทูตถาวรศรีลังกาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กได้จัดเตรียมร่างข้อมติ และได้ขอเสียงสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ เพื่อให้มีการรับรองข้อมติเรื่องการประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติในที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๕๔

๔. โดยที่สหประชาชาติประกาศวันหยุดเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว และจะเป็นปัญหาในเรื่องงบประมาณและการบริหารแก่ สหประชาชาติ หากประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุด ศรีลังกาจึงได้ตัดสินใจที่จะเสนอร่างข้อมติ ขอให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลที่สหประชาชาติ ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานต่าง ๆ แทนการเสนอให้เป็นวันหยุดซึ่ง ออท. ผู้แทนถาวรประเทศต่าง ๆ รวม ๑๖ ประเทศ ได้แก่ ศรีลังกา บังคลาเทศ ภูฐาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน ได้ร่วมลงนามในหนังสือถึงประธานสมัชชาฯ เพื่อให้นำเรื่องวันวิสาขบูชาเข้าเป็นระเบียบวาระการประชุมของสมัชชาฯ

๕. ต่อมาเมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ General Committee ของสมัชชาฯ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดย ออท.ผู้แทน ถาวรศรีลังกาได้กล่าวถ้อยแถลงสนับสนุนหนังสือร้องขอให้ที่ประชุมบรรจุระเบียบวาระดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาเต็มคณะ ออท.ผู้แทนถาวรไทย อินเดีย สเปน บังคลาเทศ ปากีสถาน ไซปรัส ลาว และภูฐาน ได้กล่าวถ้อย แถลงสนับสนุน ซึ่งที่ประชุม General Committee ได้มีมติให้บรรจุเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาเต็มคณะ

ปัจจุบัน
๑. เมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๕๔ ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๑๗๔ International recognition of the Day of Visak โดยการเสนอของศรีลังกา

๒. ในการพิจารณา ประธานสมัชชาฯ ได้เชิญผู้แทนศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญผู้แทนไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฐาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดียขึ้นกล่าวถ้อยแถลง สรุปความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของ สหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรองความสำคัญของพุทธศาสนาในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม

๓. ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างข้อมติโดยฉันทามติ

ถ้อยแถลงของเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฯ ศรีลังกาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
ถ้อยแถลงของนายวรวีร์ วีรสัมพันธ์ อุปทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก

เหตุผลที่ องค์การสหประชาชาติหนดให้ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก
เนื่องจากคณะกรรมมาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมพิจารณาและมีมติเห็นพ้องต้องกันประกาศให้วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของโลกทั้งนี้

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวล มนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือสัตว์ เหตุผลสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนา พุทธและทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน